2/9/53

Service Profile งานสุขาภิบาล และงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

ชื่อหน่วยงาน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

งานสุขาภิบาล และงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข

1.บริบท
ขอบเขตงาน ได้แก่
ปฏิบัติงานในงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และงานควบคุมป้องกันโรคซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของงานสูง หรือในฐานะนักวิชาการสาธารณสุขโดยควบคุมหน่วยงานหลายหน่วยงาน หรือปฏิบัติงานวิชาการสาธารณสุข ในลักษณะผู้ชำนาญการหรือผู้มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานเทียบได้ระดับเดียวกันและปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย


ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และรับผิดชอบ
ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความชำนาญทางวิชาการสาธารณสุขด้านวางแผนงานสาธารณสุข วิเคราะห์งาน การพัฒนาบุคลากรและพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข กำหนดวิธีการวางแผน ควบคุมกำกับงานและประเมินผลค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนางานสาธารณสุข เพื่อการกำหนดมาตรฐาน กลวิธีในการดำเนินงานตลอดจนการนิเทศงานและประเมินผลงานการดำเนินงานสาธารณสุขในระดับโรงพยาบาล เพื่อนำมาวางแผนกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ริเริ่มการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขทุกระดับ กำหนดระบบการควบคุมกำกับและการประเมินผลงานสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น สถานีอนามัย PCU รวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน สนับสนุนการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรม และให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับงานในหน้าที่ ร่วมประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดเป้าหมายและแผนงานของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และสถานีอนามัย PCU ติดต่อประสานงาน มอบหมายงาน วินิจฉัยสั่งการ ควบคุมการตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงแก้ไข ติดตามประเมินผล และแก้ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงานของกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โดยการปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมาย
ลักษณะงานของตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข

ด้านบริหาร - ศึกษานโยบายด้านสาธารณสุข และนำไปปฏิบัติจัดทำแผนงาน โครงการ
- นิเทศ และให้คำปรึกษา แนะนำ การปรับปรุงแก้ไขปัญหา
- ติดตาม ควบคุมกำกับ และประเมินผล
- ติดต่อประสานงานเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน และนอกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
- เป็นที่ปรึกษา และแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ทุกระดับด้านบริการ
- เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านควบคุมป้องกันโรค สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองผู้บริโภคและ งานควบคุมโรคติดต่อประชาสัมพันธ์โครงการ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- สนับสนุนเอกสารวิชาการ และสื่อต่างๆ ที่ใช้ในการอบรม เผยแพร่ระดับท้องถิ่นเทศบาล โรงเรียน สถานีอนามัย PCU ในเครือข่าย
- จัดทำคู่มือการดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และงานคุ้มครองผู้บริโภค งานควบคุมโรคติดต่อ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติด้านวิชาการ - รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินผลงานควบคุมป้องกันโรค งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และงานคุ้มครองผู้บริโภค งานควบคุมโรคติดต่อ โดยนำข้อมูลมาวางแผน เพื่อแก้ไขปัญหา ปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- จัดประชุม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับงานควบคุมป้องกันโรค สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและงานคุ้มครองผู้บริโภค งานควบคุมโรคติดต่อ แก่กลุ่มเป้าหมาย

1.งานแผนงานโครงการ
- นำเสนอกรอบนโยบายของจังหวัดและแปลงเป็นกรอบนโยบายของโรงพยาบาล
- จัดทำแผนพัฒนาเทศบาลส่วนท้องถิ่น และเครือข่าย ด้านสาธารณสุข และแผนปฏิบัติการ
- ปรับแผนงานสาธารณสุขตามสภาพพื้นที่ ความเป็นไปได้และงบประมาณทีได้รับ
- ประสานงานกับหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานอื่นๆ
2.งานข้อมูลข่าวสาร
- จัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขระดับท้องถิ่น และเครือข่าย
- บริการข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขส่งรายเดือน รายงวด
- ตรวจสอบระเบียนรายงาน รวบรวม ประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูล
- งานสถิติชีพระดับท้องถิ่น และเครือข่าย
- งานสารสนเทศเทคโนโลยีระดับท้องถิ่น และเครือข่าย
- จัดเตรียมข้อมูล นำเสนอ และเผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน
3.งานนิเทศงาน
- วางแผนและนิเทศงานงานสาธารณสุข ของเทศบาล สถานีอนามัย และPCU ในความรับผิดชอบ
4.งานควบคุมกำกับและประเมินผล
- ประเมินผลงานสถานีอนามัย และ PCU ในเขตรับผิดชอบ
- สรุปผลการปฏิบัติงานประจำปี
- ประเมินผลงานตามโครงการ/นโยบาย

ขอบเขตความรับผิดชอบ ใน โรงพยาบาล

1. ให้คำปรึกษา ประสานงาน ให้ข้อมูลเสนอแนะทางวิชาการ แก่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ในการดำเนินงานปรับปรุงด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้ง นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
2. เฝ้าระวังและดูแลระบบต่างๆ ทางด้านสุขาภิบาลในโรงพยาบาล ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แนะนำเผยแพร่ อบรม งานด้านสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้แก่เจ้าหน้า คนงาน ในโรง    พยาบาล
4. ร่วมงานศึกษาวิจัยของกลุ่มงาน
5. เป็นคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล
6. เป็นคณะกรรมการควบคุมป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล
7. ร่วมประชุม อบรม สัมมนาตามที่ได้รับมอบหมาย
8. ร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ตามนโยบายของโรงพยาบาล
9. งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
    ได้แก่
งานสุขาภิบาล และอนามัยสิ่งแวดล้อม (ร่วมกับงานสิ่งแวดล้อม ฝ่ายบริหาร ,งานควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล และงานอาชีวอนามัย)

1. การจัดหาน้ำสะอาด
- เฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภค โดยเก็บตัวอย่างน้ำบริโภคส่งตรวจวิเคราะห์
- แก้ไขปัญหาที่พบ ร่วมกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
2. การกำจัดสิ่งปฏิกูล
- ขยะ ดูแลควบคุมระบบการกำจัดขยะ เตาเผาขยะ
- น้ำเสีย ดูแลควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย
- อุจจาระ
3. การสุขาภิบาลอาหาร
- ตรวจแนะนำประเมินร้าน/แผงลอยจำน่ายอาหารในโรงพยาบาล ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ Clean Food Good Taste 100 %
- ตรวจแนะนำ ประเมิน ให้คำปรึกษา โรงครัวโรงพยาบาล ให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ โรงอาหารมาตรฐานระดับดีมาก ของกรมอนามัย
4. การสุขาภิบาลที่พักอาศัย และอาคารสถานที่ และบริเวณ
- การดูแลรักษาความสะอาดทั่วไปใน รพ.
- การจัดบริเวณ และสวนดอกไม้
- การจัดแสงสว่าง
- การระบายอากาศ
- การกำจัดและควบคุมแมลง และพาหะนำโรค

ขอบเขตความรับผิดชอบ ในชุมชน (งานนโยบาย) ร่วมกับเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

1. งานสุขาภิบาลทั่วไป และอนามัยสิ่งแวดล้อม
2. งานสุขาภิบาลอาหาร
- โครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ร้านอาหาร/แผงลอย ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ Clean Food Good Taste > 70 %
- ก๋วยเตี๋ยวอนามัย ร้าน/แผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ก๋วยเตี๋ยวอนามัย > 10 %
3. งานอาหารปลอดภัย
- อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด 95 %
- 50 % ของโรงงานอาหารผ่านเกณฑ์ GMP (ร่วมกับ สสจ.รอ.)
4. ตลาดสดน่าซื้อ
- ตลาดสดประเภทที่ 1 ผ่านเกณฑ์ ตลาดสดน่าซื้อ  60 %
5. งานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสาธารณสุข (อาหาร) และงานป้องกันควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ และบุหรี่
6. งานส้วมสาธารณะ
- ส้วมโรงเรียนในสังกัด สปฐ. ผ่านเกณฑ์ส้วมสาธารณะของกรมอนามัย (HAS) >30%


2. ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
2.1 ร้านอาหาร/แผงลอย ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ Clean Food Good Taste > 70 % ร้าน/แผงลอย(87/78.7) %

2.2 ร้าน/แผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยว ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ก๋วยเตี๋ยวอนามัย > 10 % ร้าน/แผงลอย (46.9/47.1) %

2.3 อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิด 95 % (97.8) %

2.4 ร้าน/แผงลอยจำน่ายอาหารในโรงพยาบาล ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ Clean Food Good Taste 100 %

3. แผนการพัฒนาต่อเนื่อง
3.1 พัฒนาตลาดสดประเภทที่ 1 ในเขตเทศบาลให้ผ่านเกณฑ์ ตลาดสดน่าซื้อ 60 %

3.2 พัฒนาโรงอาหารโรงพยาบาลให้ได้ มาตรฐานระดับดีมาก ของกรมอนามัย

3.3 พัฒนาส้วมโรงเรียนในสังกัด สปฐ. ผ่านเกณฑ์ส้วมสาธารณะของกรมอนามัย (HAS) >30%

ความรู้สำคัญที่ประชาชน หรือผู้รับบริการควรทราบ
1. แบบตรวจแผงลอยจำหน่ายอาหาร (12 ข้อ)

2. แบบตรวจร้านอาหาร (15 ข้อ)

3. แบบประเมินตลาดสดประเภทที่ 1

4. แบบประเมินโรงอาหารโรงพยาบาล

5. แบบประเมินส้วมสาธารณะ ของกรมอนามัย

6. ความรู้เรื่องสารปนเปื้อนอาหาร 6 ชนิด

6.1 บอแรกซ์

6.2 สารฟอกขาว

6.3 สารกันรา

6.4 ฟอร์มาลีน

6.5 ยาฆ่าแมลง

6.6 สารเร่งเนื้อแดง